วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สีรถถูกโฉลกตามวันเกิด


สีรถถูกโฉลกตามวันเกิด



สีรถถูกโฉลก

สีรถถูกโฉลกตามวันเกิด


           คนเกิดวันอาทิตย์ 
           ตามหลักทักษาคนที่เกิดวันอาทิตย์ ห้ามใช้ ศ ษ ส ห ฬ ฮ เพราะเป็นอักษรกาลกิณี

           เลขทะเบียนรถห้าม ไม่ให้มีเลข 6 และเลข 3

           ไม่ควรทำการมงคลต่าง ๆ ในวันศุกร์ เพราะเป็นกาลกิณีในวันเกิดและไม่ควรทำการมงคลต่าง ๆ ในวันอังคาร เพราะเป็นวันคู่ศัตรูวันเกิด

           ถ้าจะออกรถ สีรถที่ควรเลือกใช้หรือสีรถที่ถูกโฉลก ของคนเกิดวันอาทิตย์

          รถสีแดงก่ำหรือสีแดงเลือดหมู เสริมสง่าราศี มากด้วยบุญญาบารมี มีอำนาจวาสนา คนนบนอบยำเกรง

          รถสีดำ เสริมความน่าเคารพนับถือ เสริมดวงเรื่องทรัพย์สินเงินทอง การเงิน

          รถสีขาว สีครีม เสริมความสงบปลอดภัยจากเหตุร้าย เช่น อุบัติเหตุ แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง

          รถสีม่วงเปลือกมังคุด เสริมดวงด้านศรัทธา ความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ และดวงเรื่องการเงิน

          รถสีเขียว เสริมดวงให้คนรักเมตตา อุปถัมภ์ค้ำชู ช่วยเหลือทำให้สะดวกราบรื่นในเรื่องต่าง ๆ

          รถสีบรอนซ์ สีเทา สีทอง เสริมดวงเรื่องเมตตามหานิยม เสริมเสน่ห์ การสนับสนุนเกื้อกูล

          รถสีฟ้า สีน้ำเงิน ไม่ควรออกรถสีนี้ เพราะเป็นกาลกิณี หมายถึง โชคร้าย อัปมงคล ความเป็นเสนียด ศัตรูคู่แข่ง อุปสรรคในการดำเนินชีวิต

           คนเกิดวันจันทร์ 

           ตามหลักทักษาคนที่เกิดวันจันทร์ ห้ามใช้ สระทั้งหมด (เว้นไม้หันอากาศและตัวการันต์) เพราะเป็นอักษรกาลกิณี

           เลขทะเบียนรถห้าม ไม่ให้มีเลข 1 และเลข 5

           ไม่ควรทำการมงคลต่าง ๆ ในวันอาทิตย์ เพราะเป็นกาลกิณีในวันเกิดและไม่ควรทำการมงคลต่าง ๆ ในวันพฤหัสบดี เพราะเป็นวันคู่ศัตรูวันเกิด

           ถ้าจะออกรถ สีรถที่ควรเลือกใช้หรือสีรถที่ถูกโฉลก ของคนเกิดวันจันทร์

          รถสีส้ม สีเหลืองแก่ เสริมดวงเรื่องการเงิน ความมั่นคง ทุนทรัพย์ ราคาและคุณค่าที่จะเพิ่มพูนให้แก่ตนเองในปัจจุบันและภายภาคหน้า

          รถสีดำ เสริมความสงบปลอดภัยจากเหตุร้าย เช่น อุบัติเหตุ แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง

          รถสีน้ำเงิน สีทอง เสริมเสน่ห์ ผู้ใหญ่รักเมตตาและเอ็นดู มีแต่สิ่งที่เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต หลักทรัพย์ โชคลาภ เสน่ห์ที่ทำให้คนรักใคร่เมตตา และศรัทธาในตัวเรา

          รถสีม่วงเปลือกมังคุด เสริมดวงด้านความสะดวกราบรื่นทุกอย่าง

          รถสีชมพู เสริมดวงให้ประสพผลสำเร็จได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชู ได้รับการสงเคราะห์เกื้อหนุนจากผู้ใหญ่ ได้รับการส่งเสริม ในการดำเนินชีวิตและหน้าที่การงาน

          รถสีฟ้า เสริมดวงให้ประสพความสำเร็จในการดำเนินชีวิตและหน้าที่การงาน

          รถสีเขียว อำนาจวาสนา บารมี เกียรติยศ และชื่อเสียงตำแหน่งหน้าที่การงาน อานุภาพอิทธิพลที่ทำให้คนเคารพยำเกรง มีความสามารถในการควบคุมบังคับบัญชาคน

          รถสีแดง สีต้องห้าม เพราะเป็น กาลกิณี หมายถึง โชคร้าย อัปมงคล ความเป็นเสนียด ศัตรูคู่แข่ง อุปสรรคในการดำเนินชีวิต

           คนเกิดวันอังคาร 

           ตามหลักทักษาคนที่เกิดวันอังคาร ห้ามใช้ ก ข ค ฆ ง เพราะเป็นอักษรกาลกิณี

           เลขทะเบียนรถห้าม ไม่ให้มีเลข 2 และเลข 1 เพราะทะเบียนที่มีเลข  จะมีเรื่องและเกิดอุบัติบ่อย ๆ ทำให้เสียเงินทองหรือทำให้เจ้าของได้รับบาดเจ็บ

           ไม่ควรทำการมงคลต่าง ๆ ในวันจันทร์ เพราะเป็นกาลกิณีในวันเกิดและไม่ควรทำการมงคลต่าง ๆ ในวันอาทิตย์ เพราะเป็นวันคู่ศัตรูวันเกิด

           ถ้าจะออกรถ สีรถที่ควรเลือกใช้หรือสีรถที่ถูกโฉลก ของคนเกิดวันอังคาร

          รถสีม่วงแก่ เสริมวาสนาบารมี โชคลาภ ความโชคดี

          รถสีดำ เสริมดวงด้านพลังอำนาจ เกียรติยศ และชื่อเสียงตำแหน่งหน้าที่การงาน อานุภาพอิทธิพลที่ทำให้คนเคารพยำเกรง มีความสามารถในการควบคุมบังคับ

          รถสีบรอนซ์ สีเทา เสริมความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ

          รถสีทอง สีแสด เสริมความสงบปลอดภัยจากเหตุร้าย เช่น อุบัติเหตุ แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง

          รถสีน้ำตาล เสริมดวงด้านความมั่นคงในชีวิต เช่นมั่นคงเรื่อง หลักทรัพย์ ทรัพย์สิน หน้าที่การงาน

          รถสีเขียว เสริมดวงด้านการแก้ปัญหา ไร้อุปสรรค ไร้ศัตรูและคู่แข่ง

          รถสีแดง สีชมพู เสริมดวงให้ประสพผลสำเร็จได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชู ได้รับการสงเคราะห์เกื้อหนุนจากผู้ใหญ่ ได้รับการส่งเสริม ในการดำเนินชีวิตและหน้าที่การงาน

          รถสีขาว สีเหลืองนวล เป็นสีต้องห้าม เพราะเป็น กาลกิณี หมายถึง โชคร้าย อัปมงคล ความเป็นเสนียด ศัตรูคู่แข่ง อุปสรรคในการดำเนินชีวิต

           คนเกิดวันพุธ (กลางวัน 06.01 - 18.00 น.) 

           ตามหลักทักษาคนที่เกิดวันพุธ (กลางวัน) ห้ามใช้ จ ฉ ช ซ ฌ ญ เพราะเป็นอักษรกาลกิณี

           เลขทะเบียนรถห้าม ไม่ให้มีเลข 3 และเลข 8

           ไม่ควรทำการมงคลต่าง ๆ ในวันอังคาร เพราะเป็นกาลกิณีในวันเกิดและไม่ควรทำการมงคลต่าง ๆ ในวันพุธ (กลางคืน) เพราะเป็นวันคู่ศัตรูวันเกิด

           ถ้าจะออกรถ สีรถที่ควรเลือกใช้หรือสีรถที่ถูกโฉลก ของคนเกิดวันพุธ (กลางวัน)

          รถสีน้ำเงิน สีฟ้า เสริมดวงด้านความเคารพนับถือ ยกย่องยอมรับ

          รถสีน้ำตาล สีทอง เสริมดวงด้านพลังอำนาจ เกียรติยศ และชื่อเสียงตำแหน่งหน้าที่การงาน อานุภาพอิทธิพลที่ทำให้คนเคารพยำเกรง มีความสามารถในการควบคุมบังคับ

          รถสีขาว สีเหลืองอ่อน เสริมดวงให้ประสพผลสำเร็จได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชู ได้รับการสงเคราะห์เกื้อหนุนจากผู้ใหญ่ ได้รับการส่งเสริม ในการดำเนินชีวิตและหน้าที่การงาน

          รถสีเทา สีบรอนซ์ เสริมความสงบปลอดภัยจากเหตุร้าย เช่น อุบัติเหตุ แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง

          รถสีดำ เสริมดวงด้านการแก้ปัญหา ไร้อุปสรรค ไร้ศัตรูและคู่แข่ง ชีวิตมีแต่ความสะดวก ราบรื่น

          รถสีม่วงแก่ เสริมโชควาสนา เสริมวาสนาบารมี โชคลาภ ความโชคดี

          รถสีเขียว เสริมดวงด้านเสน่ห์ที่ทำให้คนรักใคร่เมตตา และศรัทธาในตัวเรา

          รถสีชมพู สีแสด เป็นสีต้องห้าม เพราะเป็น กาลกิณี หมายถึง โชคร้าย อัปมงคล ความเป็นเสนียด ศัตรูคู่แข่ง อุปสรรคในการดำเนินชีวิต

           คนเกิดวันพุธ (กลางคืน 18.01 - 06.00 น.) 

           ตามหลักทักษาคนที่เกิดวันพุธ (กลางคืน) ห้ามใช้ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม เพราะเป็นอักษรกาลกิณี

           เลขทะเบียนรถห้าม ไม่ให้มีเลข 5 และเลข 4

           ไม่ควรทำการมงคลต่าง ๆ ในวันพฤหัสบดี เพราะเป็นกาลกิณีในวันเกิดและไม่ควรทำการมงคลต่าง ๆ ในวันพุธ (กลางวัน) เพราะเป็นวันคู่ศัตรูวันเกิด

           ถ้าจะออกรถ สีรถที่ควรเลือกใช้หรือสีรถที่ถูกโฉลก ของคนเกิดวันพุธ (กลางคืน)

          รถสีชมพู เสริมดวงให้คนเชื่อถือและไว้วางใจ

          รถสีดำ เสริมดวงด้านความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน

          รถสีเทา สีบรอนซ์ เสริมความสงบปลอดภัยจากเหตุร้าย เช่น อุบัติเหตุ แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง

          รถสีม่วงแก่ เสริมดวงให้ประสพผลสำเร็จได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชู ได้รับการสงเคราะห์เกื้อหนุนจากผู้ใหญ่ ได้รับการส่งเสริม ในการดำเนินชีวิตและหน้าที่การงาน

          รถสีน้ำเงิน สีฟ้า เสริมดวงด้านการแก้ปัญหา ไร้อุปสรรค ไร้ศัตรูและคู่แข่ง ชีวิตมีแต่ความสะดวก ราบรื่น

          รถสีแดง สีน้ำตาล เสริมโชควาสนา เสริมวาสนาบารมี โชคลาภ ความโชคดี

          รถสีส้ม สีทอง เป็นสีต้องห้าม เพราะเป็น กาลกิณี หมายถึง โชคร้าย อัปมงคล ความเป็นเสนียด ศัตรูคู่แข่ง อุปสรรคในการดำเนินชีวิต

           คนเกิดวันพฤหัสบดี 

           ตามหลักทักษาคนที่เกิดวันพฤหัสบดี ห้ามใช้ ด ต ถ ท ธ น เพราะเป็นอักษรกาลกิณี

           เลขทะเบียนรถห้าม ไม่ให้มีเลข 7

           ไม่ควรทำการมงคลต่าง ๆ ในวันเสาร์ เพราะเป็นกาลกิณีในวันเกิด

           ถ้าจะออกรถ สีรถที่ควรเลือกใช้หรือสีรถที่ถูกโฉลก ของคนเกิดวันพฤหัสบดี

          รถสีขาว เสริมดวงให้คนเชื่อถือและไว้วางใจ

          รถสีแดง เสริมดวงด้านความสงบปลอดภัยจากเหตุร้าย เช่น อุบัติเหตุ แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง

          รถสีเทา สีบรอนซ์ เสริมดวงด้านการแก้ปัญหา ไร้อุปสรรค ไร้ศัตรูและคู่แข่ง ชีวิตมีแต่ความสะดวก ราบรื่น

          รถสีฟ้า เสริมโชควาสนา เสริมวาสนาบารมี โชคลาภ ความโชคดี

          รถสีเขียว เสริมดวงให้ประสพผลสำเร็จได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชู ได้รับการสงเคราะห์เกื้อหนุนจากผู้ใหญ่ ได้รับการส่งเสริม ในการดำเนินชีวิตและหน้าที่การงาน

          รถสีส้ม สีทอง เสริมความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต หลักทรัพย์ โชคลาภ เสน่ห์ที่ทำให้คนรักใคร่เมตตา และศรัทธาในตัวเรา

          รถสีดำ สีม่วง สีน้ำเงิน เป็นสีต้องห้าม เพราะเป็น กาลกิณี หมายถึง โชคร้าย อัปมงคล ความเป็นเสนียด ศัตรูคู่แข่ง อุปสรรคในการดำเนินชีวิต

           คนเกิดวันศุกร์ 
           ตามหลักทักษาคนที่เกิดวันศุกร์ ห้ามใช้ ย ร ล ว เพราะเป็นอักษรกาลกิณี

           เลขทะเบียนรถห้าม ไม่ให้มีเลข 8 และเลข 7

           ไม่ควรทำการมงคลต่าง ๆ ในวันพุธ (กลางคืน) เพราะเป็นกาลกิณีในวันเกิดและไม่ควรทำการมงคลต่าง ๆ ในวันเสาร์ เพราะเป็นวันคู่ศัตรูวันเกิด

           ถ้าจะออกรถ สีรถที่ควรเลือกใช้หรือสีรถที่ถูกโฉลก ของคนเกิดวันศุกร์

          รถสีเขียว เสริมดวงให้คนเชื่อถือและไว้วางใจ

          รถสีแดง สีทอง เสริมดวงด้านความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน

          รถสีแดง สีชมพู เสริมดวงด้านความสงบปลอดภัยจากเหตุร้าย เช่น อุบัติเหตุ แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง

          รถสีเหลือง เสริมดวงให้ประสพผลสำเร็จได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชู ได้รับการสงเคราะห์เกื้อหนุนจากผู้ใหญ่ ได้รับการส่งเสริม ในการดำเนินชีวิตและหน้าที่การงาน

          รถสีดำ เสริมดวงด้านการแก้ปัญหา ไร้อุปสรรค ไร้ศัตรูและคู่แข่ง ชีวิตมีแต่ความสะดวก ราบรื่น

          รถสีน้ำตาล เสริมโชควาสนา เสริมวาสนาบารมี โชคลาภ ความโชคดี

          รถสีฟ้า สีน้ำเงิน เสริมความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต หลักทรัพย์ โชคลาภ เสน่ห์ที่ทำให้คนรักใคร่เมตตา และศรัทธาในตัวเรา

          รถสีเทา สีบรอนซ์ สีม่วง เป็นสีต้องห้าม เพราะเป็น กาลกิณี หมายถึง โชคร้าย อัปมงคล ความเป็นเสนียด ศัตรูคู่แข่ง อุปสรรคในการดำเนินชีวิต

           คนเกิดวันเสาร์ 

           ตามหลักทักษาคนที่เกิดวันเสาร์ ห้ามใช้ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เพราะเป็นอักษรกาลกิณี

           เลขทะเบียนรถห้าม ไม่ให้มีเลข 4 และเลข 6

           ไม่ควรทำการมงคลต่าง ๆ ในวันพุธ (กลางวัน) เพราะเป็นกาลกิณีในวันเกิดและไม่ควรทำการมงคลต่าง ๆ ในวันศุกร์ เพราะเป็นวันคู่ศัตรูวันเกิด

           ถ้าจะออกรถ สีรถที่ควรเลือกใช้หรือสีรถที่ถูกโฉลก ของคนเกิดวันเสาร์

          รถสีแดง เสริมดวงให้คนยอมรับเชื่อถือและไว้วางใจ

          รถสีชมพู เสริมดวงให้ประสพผลสำเร็จได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชู ได้รับการสงเคราะห์เกื้อหนุนจากผู้ใหญ่ ได้รับการส่งเสริม ในการดำเนินชีวิตและหน้าที่การงาน

          รถสีน้ำเงิน สีฟ้า เสริมดวงด้านความสงบปลอดภัยจากเหตุร้าย เช่น อุบัติเหตุ แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง

          รถสีเทา สีบรอนซ์ เสริมโชควาสนา เสริมวาสนาบารมี โชคลาภ ความโชคดี

          รถสีทอง สีเหลือง เสริมดวงด้านการแก้ปัญหา ไร้อุปสรรค ไร้ศัตรูและคู่แข่ง ชีวิตมีแต่ความสะดวก ราบรื่น

          รถสีดำ สีม่วงแก่ เสริมความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต หลักทรัพย์ โชคลาภ เสน่ห์ที่ทำให้คนรักใคร่เมตตา และศรัทธาในตัวเรา

          รถสีเขียว สีแสด เป็นสีต้องห้าม เพราะเป็น กาลกิณี หมายถึง โชคร้าย อัปมงคล ความเป็นเสนียด ศัตรูคู่แข่ง อุปสรรคในการดำเนินชีวิต




ข้อมูลจาก Forward Mail

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช



พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการทรัพยากรน้ำ
"...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้น้ำ

เพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้..." 

2. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้


 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการป่าไม้
ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ทั้งทางตรง และทางอ้อมให้แก่ มวลมนุษยชาติ ช่วยควบคุมให้สภาพดินฟ้าอากาศอยู่ในสภาพปกติ รักษาต้นน้ำลำธาร พันธุ์พฤกษชาติ และสัตว์ป่า อีกทั้งยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ป่าไม้เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์ได้บริโภคใช้สอย ได้ประกอบอาชีพด้านการทำไม้ เก็บของป่า การอุตสาหกรรมไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ใช้วัตถุดิบจากไม้ และของป่า แต่สภาพปัจจุบันมีแรงผลักดันให้เกิดการบุกรุกทำลายป่าไม้ เพื่อบุกเบิกพื้นที่ทำการเกษตร ลักลอบตัดไม้ป้อนโรงงานอุตสาหกรรม และเผ่าถ่าน นอกจากนี้ การเร่งการดำเนินงานบางโครงการ เช่น การก่อสร้างถนน สร้างเขื่อน ฯลฯ ทำให้มีการตัดไม้ โดยไม่คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ป่าไม้จึงมีเนื้อที่ลดลงตามลำดับ และบางแห่งอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมอย่างมาก 


ทางด้านหน่วยแพทย์หลวงที่จะต้องตามเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ประทับแรมทุกแห่งนั้น จะมีเจ้าหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้มาขอรับการรักษา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ประการใด นอกจากนั้น หน่วยแพทย์หลวงยังจัดเจ้าหน้าที่ออกเดินทาง ไปรักษาราษฎรผู้ป่วยเจ็บ ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกด้วย โดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นผู้แนะนำสถานที่และร่วมเดินทางไปด้วย สำหรับราษฎรผู้เจ็บป่วยรายที่มีอาการหนัก หรือจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจรักษาเพิ่มเติมนั้น ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จพระราชดำเนิน ทำการบันทึกรายชื่อ อาชีพ ที่อยู่ และอาการโดยละเอียด โดยตรวจสอบความถูกต้องกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และมีสำเนาให้รับทราบเพื่อติดต่อประสานงานต่อไป ในการพิจารณาส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อ ตามความเห็นของแพทย์ผู้ทำการตรวจ 

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักดีว่า การพัฒนาการศึกษาของเยาวชนนั้น เป็นพื้นฐานอันสำคัญของประเทศชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล ให้เป็นทุนสำหรับการศึกษาในแขนงวิชาต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีทุนออกไปศึกษา หาความรู้ต่อในวิชาการชั้นสูงในประเทศต่าง ๆ โดยไม่มีเงื่อนไขข้อผูกพันแต่ประการใด เพื่อที่จะได้นำความรู้นั้น ๆ กลับมาใช้พัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

H.M.K picture นอกเหนือไปจากนี้แล้ว ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการจัดทำสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนขึ้น สารานุกรมชุดนี้ มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากสารานุกรมชุดอื่น ๆ ที่ได้เคยจัดพิมพ์มาแล้ว กล่าวคือ เป็นสารานุกรมอเนกประสงค์ที่บรรจุเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นสาระไว้ครบทุกแขนงวิชา โดยจัดแบ่งเนื้อหาของแต่ละเรื่องออกเป็นสามระดับ เพื่อที่จะให้เยาวชนแต่ละรุ่น ตลอดจนผู้ใหญ่ที่มีความสนใจ สามารถที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ได้ตามความเหมาะสมของพื้นฐานความรู้ ของแต่ละคน โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชา การอุทิศเวลาและความรู้ เพื่อสนองพระราชดำริ โดยร่วมกันเขียนเรื่องต่าง ๆ ขึ้น แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ทรงก่อตั้งกองทุนนวฤกษ์ ในมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อช่วยให้นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ทั้งยังพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนริเริ่มในการก่อสร้างโรงเรียนตามวัดในชนบท สำหรับที่จะสงเคราะห์เด็กยากจนและกำพร้า ให้ได้มีสถานที่สำหรับศึกษาเล่าเรียน โดยอาราธนาพระภิกษุเป็นครูสอนในวิชาสามัญต่าง ๆ ที่ไม่ได้ขัดต่อพระธรรมวินัย ตลอดจนช่วยอบรมศีลธรรมแก่เด็กนักเรียน ทั้งนี้ เป็นพระราชประสงค์ที่จะให้เด็กนักเรียน ได้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการศึกษาควบคู่กันไป อันจะทำให้เยาวชนของชาติ นอกจากจะมีความรู้ด้านวิชาการแล้ว ยังจะทำให้มีจิตใจที่ดี ที่ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม เพื่อที่จะได้เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติต่อไป ในอนาคต

โรงเรียนร่มเกล้า ก็เป็นสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ในหลายจังหวัดที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริ ที่จะให้ทหารออกไปปฏิบัติภารกิจในท้องที่ทุรกันดาร ได้ทำประโยชน์ต่อชุมชน และมีส่วนช่วยเหลือประชาชนในด้านการศึกษา ตามโอกาสอันควร โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ทหารจัดสร้างโรงเรียนขึ้นในจังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนสถานศึกษาสำหรับเยาวชน และยังเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดี ระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารที่ไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่นั้น ๆ กับราษฎรเจ้าของท้องที่อีกโสตหนึ่งด้วย ซึ่งในการดำเนินงานจัดสร้างโรงเรียน ทางฝ่ายทหารได้ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และฝ่ายศึกษาธิการ เพื่อเลือกสถานที่ตั้งโรงเรียนที่เหมาะสมกับความจำเป็นที่สุด ซึ่งปรากฎว่าราษฎรในท้องที่ที่มีการสร้างโรงเรียน ได้พากันร่วมอุทิศแรงกายช่วยในการก่อสร้าง ตลอดจนอุทิศทุนทรัพย์สมทบเป็นทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้างโรงเรียน เพื่อเป็นการโดยเสด็จพระราชกุศลด้วย และเมื่อการก่อสร้างโรงเรียนแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโรงเรียนเหล่านั้น พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า โรงเรียนร่มเกล้า ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งโรงเรียนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา 

พระราชกรณียกิจด้านการต่างประเทศ

โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประมุขของประเทศ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ ทั้งในทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และทวีปอเมริกาเหนือ เพื่อเป็นการเจริญทางพระราชไมตรีระหว่างประเทศไทย กับบรรดามิตรประเทศเหล่านั้น ที่มีความสัมพันธ์อันดีอยู่แล้ว ให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทรงนำความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทย ไปยังประเทศต่าง ๆ นั้นด้วย ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างไกลมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างมหาศาล และประเทศต่าง ๆ ที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเจริญทางพระราชไมตรีนั้น มีดังนี้

- เวียดนามใต้ ระหว่างวันที่ 18-21 ธันวาคม 2502 ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศครั้งแรก ในรัชกาลปัจจุบัน
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 8-16 กุมภาพันธ์ 2503
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหภาพพม่า ระหว่างวันที่ 2-5 มีนาคม 2503
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน - 15 กรกฎาคม 2503
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนอังกฤษ ระหว่างวันที่ 19-23 กรกฎาคม 2503
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2503
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐโปรตุเกส ระหว่างวันที่ 22-25 สิงหาคม 2503
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 2ช-31 สิงหาคม 2503
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนเดนมาร์ก ระหว่างวันที่ 6-9 กันยายน 2503
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนนอร์เวย์ ระหว่างวันที่ 19-21 กันยายน 2503
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสวีเดน ระหว่างวันที่ 23-25 กันยายน 2503
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐอิตาลี ระหว่างวันที่ 28 กันยายน - 1 ตุลาคม 2503
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนนครรัฐวาติกัน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2503
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนเบลเยี่ยม ระหว่างวันที่ 4-7 ตุลาคม 2503
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 11-14 ตุลาคม 2503
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนลักเซมเบอร์ก ระหว่างวันที่ 17-19 ตุลาคม 2503
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 24-27 ตุลาคม 2503
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสเปน ระหว่างวันที่ 3-8 พฤศจิกายน 2503
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ระหว่างวันที่ 11-22 มีนาคม 2505
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหพันธรัฐมลายา ระหว่างวันที่ 20-27 มิถุนายน 2505
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนนิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ 18-26 สิงหาคม 2505
- ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม - 12 กันยายน 2505
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม - 5 มิถุนายน 2506
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐจีน ระหว่างวันที่ 5-8 มิถุนายน 2506
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ 9-14 กรกฎาคม 2506
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 5 ธันวาคม 2507
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างวันที่ 22-28 สิงหาคม 2509 ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 2 ตุลาคม 2509 ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนอิหร่าน ระหว่างวันที่ 23-30 เมษายน 2510
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 6-20 มิถุนายน 2510 ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง
- เสด็จพระราชดำเนินเยือน แคนาดา ระหว่างวันที่ 21-24 มิถุนายน 2510
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 8-9 เมษายน 2537 

เมื่อเสร็จสิ้นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ แล้ว ก็ได้ทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ที่เป็นประมุขของประเทศต่าง ๆ ที่เสด็จและเดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นการตอบแทน และบรรดาพระราชอาคันตุกะทั้งหลาย ต่างก็ประทับใจในพระราชวงศ์ของไทย ตลอดจนประชาชนชาวไทยอย่างทั่วหน้า บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโรงเรียนเหล่านั้น พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า โรงเรียนร่มเกล้า ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งโรงเรียนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา 

พระราชกรณียกิจด้านภาษาและวรรณกรรม
“ ...ภาษาไทยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ ภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือของมนุษย์ชนิดหนึ่ง คือเป็นทางสำหรับแสดงความเห็นอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่สวยงามอย่างหนึ่ง เช่นในทางวรรณคดีเป็นต้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาไว้ให้ดี ประเทศไทยนั้นมีภาษาของเราเองซึ่งต้องหวงแหนประเทศใกล้เคียงของเราหลายประเทศมีภาษาของตนเอง แต่ว่าเขาก็ไม่แข็งแรง เขาต้องพยายามหาทางที่จะสร้างภาษาของตนเองไว้ให้มั่นคง เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้... ”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านภาษาและวรรณกรรมเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าพระองค์จะทรงเจริญพระชันษาในต่างประเทศ ทรงศึกษาภาษาต่างประเทศ แต่พระองค์ยังทรงมีพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทยได้อย่างยอดเยี่ยม และยังทรงห่วงใยต่อภาษาไทยอีกด้วย พระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทยของพระองค์แสดงชัดในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ด้านภาษา 
พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทในวโรกาสต่างๆ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังเช่นพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่นักธุรกิจและนักหนังสือพิมพ์ในนิวยอร์กเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.2510 ดังนี้ 

“… การแพร่ข่าวโดยขาดความระมัดระวังหรือแม้แต่คำพูดต่าง ๆ เพียงนิดเดียวก็สามารถจะทำลายงานที่ผู้มีความปรารถนาดีทั้งหลายพยายามสร้างไว้ด้วยความยากลำบากเป็นเวลาแรมปี... เหมือนฟองอากาศนิดเดียว ถ้าเข้าไปอยู่ในเส้นเลือดก็จะสามารถปลิดชีวิตคนได้ทั้งคน และน้ำตาลหวาน ๆ ก้อนเล็กนิดเดียว ถ้าใส่ลงในถังน้ำมันรถ ก็จะทำให้เครื่องจักรดี ๆ ของรถเสียได้โดยสิ้นเชิง... ” 

จากพระราชดำรัสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอุปมา คำพูดเล็ก ๆ “น้อย ๆ” เปรียบเทียบกับ “ฟองน้ำ” และ “น้ำตาล ” ว่าสามารถทำลายสิ่งที่สร้างมาด้วยความยากลำบากได้ เช่นเดียวกันกับฟองอากาศและน้ำตาลแม้จะเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ถ้าฟองอากาศเข้าไปอยู่ในเส้นเลือด และน้ำตาลเข้าไปอยู่ในเครื่องยนต์แล้วทั้งเครื่องยนต์และเส้นเลือดก็จะถูกทำลายลงได้ 

นอกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาภาษาละติน ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องศัพท์ ที่มาของศัพท์ และรากศัพท์ อีกทั้งยังสนพระทัยและค้นคว้าเกี่ยวกับศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต เพราะทรงเข้าพระทัยว่าหากเข้าใจศัพท์และที่มาของศัพท์แล้วจะช่วยให้เข้าใจความหมายของธรรมะได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น 

อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้ภาษาในด้านการพระราชนิพนธ์ร้อยกรองคำอวยพรปีใหม่ มอบแด่พสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศซึ่ง ส.ค.ส. ฉบับแรกปี พ.ศ. 2529 เพื่อเป็น ส.ค.ส. พระราชทานปี พ.ศ. 2530 โดยพระราชทานให้แก่หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องที่ทำงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท โดยทรงพริ้นต์จากคอมพิวเตอร์และส่งแฟกซ์พระราชทานไปยังหน่วยงานโดยทั่วถึงกัน ส.ค.ส. พระราชทานแต่ละปี จะประมวลจากเหตุการณ์บ้านเมืองในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ด้วยถ้อยคำที่สั้น ๆ แต่มากด้วยคุณค่าทรงเน้นในการเตือนและให้กำลังใจในการต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ ซึ่ง ส.ค.ส. ส่วนใหญ่ล้วนเป็นสีขาว – ดำ ทั้งสิ้น 

ด้านวรรณกรรม
ผลงานด้านวรรณกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีทั้งพระราชนิพนธ์ทรงแปลและพระราชนิพนธ์ทรงแต่งหลายเรื่องด้วยกันพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง “ พระราชานุกิจรัชกาลที่ 8 ” ตามคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย ดิศกุล ซึ่งพระราชนิพนธ์เรื่องนี้อยู่ในเรื่อง “ พระราชานุกิจ ” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชกุศล 100 วัน พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ วันที่ 20 กันยายน 2489 

วรรณกรรมทรงพระราชนิพนธ์
พระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชานุกิจรัชกาลที่ 8 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องราวกิจวัตรของรัชกาลที่ 8ทั้งกิจวัตรส่วนพระองค์ พระราชกิจ และพระราชานุกิจขณะเสด็จประพาสสถานที่ต่าง ๆ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชกุศล 100 วันพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2489 ซึ่งภาษาที่ทรงใช้จะเป็นภาษาที่สั้น กระชับ และได้ใจความชัดเจน

พระราชนิพนธ์เรื่อง “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามสู่สวิตเซอร์แลนด์” ทรงพระราชนิพนธ์เพื่อพระราชทานเป็นพิเศษแก่หนังสือวงวรรณคดี ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2490 เป็นพระราชนิพนธ์รูปแบบบันทึกประจำวัน ตั้งแต่เสด็จฯ จากประเทศไทย เพื่อไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ช่วงก่อนเดินทางจากเมืองไทยไปยังตำหนักวิลลาวัฒนา คือ ระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2489 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งพระราชนิพนธ์นี้ ทรงพรรณนาความรู้สึกของพระองค์ขณะจากเมืองไทย สะท้อนให้เห็นถึงความรัก ความผูกพัน และความห่วงใยในพสกนิกรของพระองค์

พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ แห่งวัดราชผาติการาม เมื่อปี พ.ศ. 2520 เรื่องพระมหาชนกเสด็จทอดพระเนตรพระราชอุทยานในกรุงมิถิลา พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย จึงทรงค้นคว้าเรื่องพระมหาชนเพิ่มเติมในพระตรีปิฎก และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2539 และแปลเป็นภาษาสันสกฤตอีกภาษาหนึ่ง ก่อนจะแปลเป็นฉบับการ์ตูน ในปี พ.ศ. 2545 เพื่อให้อ่านและเข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถพิจารณาหาแนวดำเนินชีวิตที่เป็นมงคลได้ 

พระราชนิพนธ์เรื่องทองแดง พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ ได้แฝงข้อคิดคติธรรมที่มีคุณค่า โดยเฉพาะความกตัญญูรู้คุณของทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2541 

งานแปล 
ติโต ผลงานแปลชิ้นแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยทรงแปลจากหนังสือ Tito ของ Phyllis Auty ในปี พ.ศ. 2519 เพื่อให้ข้าราชบริพารได้ทราบถึงบุคคลที่น่าสนใจคนหนึ่งของโลก ติโต เป็นผู้ที่ทำให้ประเทศยูโกสลาเวียที่ประกอบด้วยประชาชนจากหลากหลายชนเผ่า มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ สามารถรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นยามที่ประเทศชาติต้องพบกับภาวะวิกฤติ เพื่อร่วมกันรักษาความอุดมสมบูรณ์ และความเจริญของประเทศไว้ หนังสือติโตนี้ ได้จัดพิมพ์เป็นเล่ม และวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2537 

เศรษฐศาสตร์ตามนัยของพระพุทธศาสนา บทที่ 4 เล็กดีรสโต แปลจาก Small is Beautiful โดย E.F.Schumacher หน้า 53-63 นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ เป็นงานแปลชิ้นที่สองของพระองค์ท่าน โดยทรงแปลจากหนังสือ A Man Called Intrepid ของ William Stevenson ทรงเริ่มแปลหน้าแรกเมื่อ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2520 และแปลหน้าสุดท้ายเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2523 โดยใช้เวลาในการแปลรวมทั้งสิ้น 2 ปี 9 เดือน 3 วัน แต่ได้นำมาจัดพิมพ์เพื่อวางจำหน่ายก่อนหนังสือติโต ซึ่งทรงแปลเป็นเล่มแรก คือจัดพิมพ์ในปี พ.ศ. 2536 

บทความที่ทรงพระราชนิพนธ์แปลและเรียบเรียง
“ข่าวจากวิทยุเพื่อสันติภาพและความก้าวหน้า” จาก “Radio Peace and Progress” ในนิตยสาร Intelligence Digest 1 เมษายน พ.ศ. 2518

"การคืบหน้าของมาร์กซิสต์" จาก "The Marxist Advance" Special Brief

"รายงานตามนโยบายของคอมมูนิสต์" จาก "Following the Communist Line"

"ฝันร้ายไม่จำเป็นจะต้องเป็นจริง" จาก "No Need for Apocalypse" ในนิตยสาร The Economist ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม พุทธศักราช 2518

"รายงานจากลอนดอน" จาก " London Report" ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ 18มิถุนายน พุทธศักราช 2518

"ประเทศจีนอยู่ยง" จาก "Eternal China" ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ 13 สิงหาคม พุทธศักราช 2518

"ทัศนะน่าอัศจรรย์จากชิลีหลังสมัยอาล์เลนเด" จาก "Surprising Views from a Post Allende Chile" ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2518

"เขาว่าอย่างนั้น เราก็ว่าอย่างนั้น" จาก " Sauce for the Gander..." ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2518

"จีนแดง ตั้วเฮียค้ายาเสพติดแห่งโลก" จาก "Red China Drug Pushers to the World " ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2518

"วีรบุรุษตามสมัยนิยม" จาก "Fashion in Heroes" โดย George F. Will ในนิตยสาร Newsweek ฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม พุทธศักราช 2522


จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถในหลายภาษา ทำให้พระองค์ทรงเข้าพระทัยในการที่จะพระราชนิพนธ์หรือแปลได้อย่างผู้ที่เข้าถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียนต้นฉบับ สำหรับพระราชนิพนธ์แปล จะทรงแปลตามความมากกว่าแปลตามคำ ด้วยเหตุที่ทรงเลือกสรรถ้อยคำให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่ผู้อ่านจะสื่อเรื่องราวได้ ทำให้พระราชนิพนธ์แปลของพระองค์ มีอรรถรสแบบไทยแทรกพระอารมณ์ขันไว้ได้อย่างเหมาะสม

สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะด้านวรรณศิลป์ของพระองค์อย่างสมบูรณ์ คือพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ซึ่งพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในเล่มเดียวกัน และจะทรงเลือกใช้ภาษาโบราณ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อคงความขลังของเนื้อหาในบางตอน ซึ่งในเรื่องพระมหาชนกนี้ พระองค์ได้ทรงแสดงพระอัจฉริยภาพด้านทัศนศิลป์ไว้ด้วย นั่นคือภาพประกอบฝีพระหัตถ์ของพระองค์ โดยทรงใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพแสดงเส้นทางเดินเรือของพระมหาชนก รวม 4 ภาพ คือภาพวันที่ควรออกเดินทาง ภาพวันเดินทาง ภาพวันที่เรือล่ม และภาพพระมหาชนกทรงว่ายน้ำ และนอกจากนี้ พระราชนิพนธ์แปลของพระองค์ จะทรงเลือกสรรคำ โดยเฉพาะพระองค์ทรงโปรดที่จะใช้คำแปลก ๆ เพื่อให้พระราชนิพนธ์ของพระองค์มีสีสัน 


พระราชกรณียกิจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

   


โครงการแก้มลิง กักตุนแล้วระบายน้ำตามแรงโน้มถ่วง

นอกจากปัญหาภัยแล้งแล้ว “น้ำท่วม” ก็เป็นอีกภัยธรรมชาติที่ทำให้น้ำตาไทยเอ่อล้น โครงการแก้มลิง เป็นอีกโครงการที่ช่วยซับความเดือดร้อนของประชาชนชาวไทย ซึ่งดำเนินการโดยระบายน้ำจากตอนบนให้ไปตามคลองในแนวเหนือใต้สู่คลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่ชายทะเล เมื่อระดับน้ำในทะเลลดต่ำกว่าในคลองก็ระบายน้ำออกจากคลองทางประตูระบายน้ำด้วยหลักการแรงโน้มถ่วงของโลก

ทั้งนี้โครงการแก้มลิงเปรียบเหมือนการกินกล้วยของลิงซึ่งจะเก็บกล้วยไว้ที่แก้ม ก่อนจะค่อย ๆ นำมาเคี้ยวและกินภายหลัง เมื่อนำมาใช้แก้ปัญหาน้ำท่วมก็ขุดคลองต่างๆ เพื่อชักน้ำมารวมกันไว้เป็นบ่อพักที่เปรียบได้กับแก้มลิง แล้วค่อย ๆ ระบายน้ำลงทะเลเมื่อน้ำทะเลลดลง ผลจากดำเนินการโครงการดังกล่าวจึงช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งเป็นที่ลุ่มทำให้ระบายน้ำออกได้ล่าช้า


กังหันน้ำชัยพัฒนา ปั่นน้ำเสียเติมออกซิเจน

กังหันน้ำชัยพัฒนา คือ เครื่องกลเติมอากาศที่เป็นกังหันน้ำแบบทุ่นลอยซึ่งใช้ในการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้กังหันวิดน้ำไปบนผิวน้ำแล้วปล่อยให้ตกลงผิวน้ำตามเดิม และน้ำจะถูกสาดกระจายสัมผัสอากาศทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำ น้ำเสียจึงมีคุณภาพดีขึ้น สามารถนำไปใช้บำบัดน้ำเสียทั้งจากแหล่งชุมชน อุตสาหกรรมและการเกษตร

ทั้งนี้แนวทางของการพัฒนามาจากสภาพเน่าเสียของแหล่งน้ำต่าง ๆ ที่ทวีความรุนแรงขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชดำริว่าจำเป็นต้องบำบัดน้ำเสียด้วยเครื่องกลเติมอากาศ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบฯ ศึกษาและวิจัยร่วมกับกรมชลประทานผลิตเครื่องต้นแบบขึ้นในปี 2532 จากนั้นก็มีการพัฒนามาอีกหลายรุ่น และในปี 2536 กังหันน้ำชัยพัฒนาก็ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย กังหันบำบัดน้ำเสีย “สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย” เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำแก่ปวงชน ด้วยการหมุนปั่นเพื่อเติมอากาศให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี สามารถประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสียจากการอุปโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจนให้กับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร

ทั้งนี้ การเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำจะช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสิ่งสกปรกในน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการทางชีวภาพที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและใช้ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียน้อย และแหล่งน้ำเสียที่กระจายไปตามแหล่งต่าง ๆ จึงทำให้ยากแก่การรวบรวมน้ำเสียเพื่อนำไปบำบัดในโรงบำบัดน้ำเสีย และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง

ตามทฤษฎีเครื่องกลเติมอากาศ นับว่าการเติมอากาศหรือออกซิเจนเป็นหัวใจของระบบบำบัดน้ำเสีย เพราะถ้ามีออกซิเจนอยู่มากจุลินทรีย์ก็สามารถบำบัดน้ำได้ดีและบำบัดน้ำเสียได้มากขึ้น แต่ที่ความดันบรรยากาศซึ่งเป็นความดันที่ค่อนข้างต่ำสำหรับออกซิเจนในการละลายน้ำ จึงต้องมีการเพิ่มพื้นที่สัมผัสระหว่างอากาศกับน้ำให้ได้มากที่สุด

กังหัน น้ำชัยพัฒนา คือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเกิดจากพระปรีชาสามารถและพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว เพื่อการแก้มลพิษทางน้ำซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งสร้างเครื่องต้นแบบได้ครั้งแรกในปี 2532 การประยุกต์ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์เพื่อเติมอากาศให้กับน้ำหรือใช้เพื่อขับ เคลื่อนน้ำได้ โดยการใช้งานทั้งในรูปแบบที่ติดตั้งอยู่กับที่และใช้ในรูปแบบเคลื่อนที่ เพื่อเติมอากาศให้กับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หรือตามคลองส่งน้ำที่มีความยาวมาก ซึ่งดัดแปลงได้ด้วยการใช้พลังงานจากเครื่องยนต์ของกังหัน

กังหัน น้ำชัยพัฒนา ได้รับสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์2536 หลังจากเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่สนองพระราชดำริใน การพัฒนากังหันน้ำได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยื่นขอรับสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2535 จึงนับว่าเป็นสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทย และครั้งแรกของโลก และถือว่าวันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น “วันนักประดิษฐ์” นับแต่นั้นเป็นต้นมา 

นอกจากนี้ “กังหันชัยพัฒนา” ยังได้รับรางวัลเหรียญทองจาก The Belgian Chamber of Inventor องค์กรทางด้านนวัตกรรมที่เก่าแก่ของเบลเยียม ภายในงาน “Brussels Eureka 2000” ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

หลักการและวิธีการทำงานของกังหันน้ำชัยพัฒนา

กังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นเครื่องกลเติมอากาศแบบทุ่นลอย สามารถปรับตัวขึ้นลงได้ ตามระดับขึ้นลงของผิวน้ำ ในแหล่งน้ำเสีย มีส่วนประกอบสำคัญคือ
1. โครงกังหันน้ำรูป 12 เหลี่ยม
2. ซองบรรจุน้ำติดตั้งโดยรอบ จำนวน 6 ซอง รูซองน้ำพรุนเพื่อให้น้ำไหลกระจายเป็นฝอย
3. ซองน้ำจะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบด้วยเกียร์มอเตอร์ ซึ่งทำให้การหมุนเคลื่อนที่ของซองน้ำ วิดตักน้ำด้วย ความเร็ว สามารถวิดน้ำลึกลงไปจากใต้ผิวน้ำประมาณ 0.50 เมตร ยกน้ำสาดขึ้นไปกระจายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำ ได้สูงถึง 1 เมตร ทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างน้ำกับอากาศมากและส่งผลให้ออกซิเจนสามารถละลายเข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว
4. ในขณะที่น้ำเสียถูกยกขึ้นไปสาดกระจายสัมผัสกับอากาศแล้วตกลงไปยังผิวน้ำนั้น จะก่อให้เกิดฟองอากาศ จมตามลงไปใต้ผิวน้ำด้วย ในขณะที่ซองน้ำกำลังเคลื่อนที่ลงสู่ผิวน้ำแล้วกดลงไปใต้ผิวน้ำนั้น จะเกิดการอัดอากาศภายในซองน้ำ ภายใต้ผิวน้ำ จนกระทั่งซองน้ำจมน้ำเต็มที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงขึ้น หลังจากนั้นน้ำที่ได้รับการเติมอากาศแล้วจะเกิดการถ่ายเทของน้ำเคลื่อนที่ออกไปด้วยการผลักดันของซองน้ำ


เขื่อนดิน อ่างเก็บน้ำที่ไม่ใช้คอนกรีต

เขื่อนดินเป็นแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำผิวดินตามแนวพระราชดำริ ตัวเขื่อนนิยมก่อสร้างด้วยการถมดินและบดอัดจนแน่น สามารถส่งน้ำไปตามท่อส่งน้ำได้ เพื่อใช้ในการเกษตรและการอุปโภคบริโภค อีกทั้งยังใช้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำขนาดเล็กอย่างปลาและกุ้งน้ำจืดได้ นอกจากนี้เขื่อนดินยังเป็นปราการที่ไม่เพียงบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำหากแต่ยังป้องกันน้ำท่วมได้อีกด้วย ส่วนความจุของปริมาณขึ้นอยู่กับความสูงของเขื่อน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรอ่างเก็บน้ำแต่ละแห่งก็จะทรงปล่อยลูกปลา ลูกกุ้งเพื่อพระราชทานแก่ราษฎรในบริเวณนั้นให้มีแหล่งอาหารสำหรับบริโภค ทั้งนี้มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในลักษณะดังกล่าวทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก อาทิ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำห้วยเดียก จ.สกลนคร อ่างเก็บน้ำห้วยซับตะเคียน จ.ลพบุรี อ่างเก็บน้ำคลองหลา จ.สงขลา รวมทั้งเขื่อนขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี คือ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ใน จ.ลพบุรี และ จ.สระบุรี ซึ่งเก็บน้ำได้มากถึง 960 ล้านลูกบาศก์เมตร


ไบโอดีเซล จากปาล์มประกอบอาหารสู่เชื้อเพลิงเครื่องยนต์

ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำทางด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนผ่านโครงการส่วนพระองค์มาตั้งแต่ปี 2522 โดยมีโครงการผลิตแก๊สชีวภาพ เอทานอล แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลจากปาล์ม ซึ่งในส่วนของพระราชดำริด้านการพัฒนาน้ำมันปาล์มเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลนั้น การพัฒนาไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มในชื่อ “การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล” ได้จดสิทธิบัตรที่กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2544

อีกทั้งในปี 2546 ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลจาก “โครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม” ในงาน “บรัสเซลส์ ยูเรกา” ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ทั้งนี้ปาล์มเป็นพืชที่ให้ปริมาณน้ำมันต่อพื้นที่ปลูกสูง อีกทั้งเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้ภายในประเทศ ซึ่งจะใช้ทดแทนการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้


แหลมผักเบี้ย-หนองหาร โครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม

สิ่ง แวดล้อมเป็นอีกปัญหาที่ได้รับการแก้ไขด้วยโครงการพระราชดำริ โดยส่วนของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยเป็นโครงการตาม แนวพระราชดำริในการบำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะมูลฝอย และรักษาสภาพป่าชายเลน ทั้งนี้ แบ่งการบำบัดเป็น 2 ส่วนคือระบบบำบัดหลักและระบบบำบัดรอง สำหรับระบบบำบัดหลักนั้น ซึ่งมีบ่อสำหรับตกตะกอนและปรับสภาพน้ำเสียจำนวน 5 บ่อ โดยส่งน้ำเสียผ่านท่อไปยังบ่อบำบัดและในบ่อสุดท้ายจะมีคณะวิจัยตรวจสอบ คุณภาพน้ำก่อนส่งต่อ

ส่วนระบบบำบัดรองนั้นอาศัยการบำบัดโดยธรรมชาติ ประกอบด้วย 
1.ระบบบึงชีวภาพ ซึ่งจะปลูกพืชที่สามารถเจริญได้ดีในน้ำขังเสีย ดูดซับสารพิษและสารอินทรีย์ได้ เช่น กก อ้อ เป็นต้น 
2.ระบบกรองน้ำเสียด้วยหญ้า เช่น หญ้าเนเปีย หญ้าแฝก หญ้านวลน้อย หญ้ารูซี่ เป็นต้น โดยจะส่งน้ำเสียไปขังในแปลงหญ้าเป็นระยะ ๆ
3.ระบบกรองด้วยป่าชายเลน โดยในพื้นที่ป่าชายเลนจะปลูกโกงกาง แสมขาว เป็นต้น เพื่อให้มีสภาพใกล้เคียงธรรมชาติ น้ำที่ผ่านป่าชายเลนก็จะได้การบำบัดตามธรรมชาติ

นอก จากนี้ยังมีโครงการตามพระราชดำริเพื่อบำบัดน้ำเสียใน อ.เมือง จ.สกลนคร ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้วิจัยและพัฒนาระบบ บำบัดน้ำเสีย โดยได้ทรงทอดพระเนตรน้ำเสียบริเวณหนองสนม ข้างโรงงานผลิตน้ำประปา ซึ่งมีแนวทางแก้คือรวบรวมน้ำเสียมาระบายลงหนองหารเป็นจุดเดียวกัน เพื่อจัดทำโครงการบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติรวมกับการใช้เทคโนโลยีแบบ ประหยัด

น้ำเสียจากตัวเมืองสกลนครจะถูกรวบรวมโดยระบบท่อส่งและผ่านการบำบัดให้ดีในระดับหนึ่ง ก่อนส่งต่อไปยังแปลงพืชน้ำบำบัดแล้วระบายลงสู่หนองหารต่อไป สำหรับพืชน้ำที่ใช้บำบัดน้ำเสีย ได้แก่ ธูปฤาษี กกเล็ก แพงพวยน้ำ บอน ผักตบชวา หญ้าปล้องละมาน เป็นต้น


แกล้งดิน เร่งกำมะถันทำปฏิกิริยา ไล่หน้าดินเปรี้ยว จาก ปัญหาดินเปรี้ยวในบริเวณป่าพรุที่ถูกน้ำท่วมในจังหวัดนราธิวาส เนื่องจากมีสารประกอบไพไรท์ซึ่งมีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริให้ทดลอง “แกล้งดิน” ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนแล้วปลดปล่อยกำมะถันออกมา ทำให้ดินเปรี้ยวจัดจากนั้นปรับปรุงดินด้วยการใช้น้ำร่วมกับปูนมาร์ลหรือปูน ฝุ่นแล้วไถพลิกกลบดิน ความเป็นเบสของปูนจะทำให้ดินซึ่งเปรี้ยวจัดถูกกระตุ้นให้ “ช็อก” จึงปรับสภาพสู่สภาวะปกติ จนกระทั่งเพาะปลูกข้าวได้ 

การ ปรับพื้นที่และยกร่องก็เป็นวิธีระบายกรดบนหน้าดินอีกทางหนึ่ง ส่วนจะปลูกพืชชนิดใดนั้นต้องปรับพื้นที่ให้เหมาะสม เช่น หากจะปลูกข้าวต้องปรับดินให้ลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลออก หากจะปลูกผักหรือพืชไร่อื่นให้ยกร่องและทำคูเพื่อป้องกันน้ำท่วม นอกจากนี้ยังต้องใส่ปูนขาวเพื่อปรับให้ดินเป็นกลาง หรืออาจจะใช้น้ำจืดชะล้างก็ได้แต่ใช้เวลานาน


หญ้าแฝก รากฝังลึกอนุรักษ์หน้าดิน

ด้วยระบบรากของ “หญ้าแฝก” ที่ฝังลึกไปในดินตรง ๆ และแผ่กระจายเหมือนกำแพงจึงช่วยชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลผ่านหน้าดิน ช่วยเก็บความชุ่มชื้นของดินไว้และป้องกันการพังทลายของหน้าดิน จึงมีการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการอนุรักษ์ดิน เช่น ปลูกตามพื้นที่ลาดชันหรือบริเวณเขื่อนเพื่อป้องกันการกัดเซาะของหน้าดิน ปรับปรุงดินที่เสื่อมโทรม และยังใช้ปลูกป้องกันสารพิษปนเปื้อนลงแหล่งน้ำ เป็นต้น

ผล จากการดำเนินงานตามพระราชดำริในการศึกษาให้ทราบพันธุ์และหาวิธีปลูกหญ้าแฝก ที่เหมาะสมเพื่อเผยแพร่ในพื้นที่ ๆ ประสบปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ทำให้สมาคมควบคุมการกัดเซาะผิวดินนานาชาติ(International Erosion Control Association: IECA) มีมติถวายรางวัล The International Erosion Control Association’s International Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำหญ้าแฝกมาใช้ อนุรักษ์ดินและน้ำ เมื่อวันที่ 30 ต.ค.2536

นอก จากนี้พระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่คนในวงการ วิทยาศาสตร์ควรจะน้อมนำเป็นแบบอย่างและแนวทางเพื่อการพัฒนางานที่อยู่สู่การ พัฒนาประเทศ 


ด้านสื่อสารอิเล็กโทรนิค

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับมา ประทับอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร ในปี พ.ศ. 2495 พระองค์ได้ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้นที่พระราชวังสวนดุสิต และชื่อสถานีวิทยุดังกล่าวได้ทรงนำมาจากอักษรย่อของพระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ออกอากาศครั้งแรก ต่อมาจึงย้ายสถานีวิทยุ อ.ส. เข้าไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 



สิ่งที่ข้าพเจ้าได้เขียนความประทับใจในพระราชกรณียกิจนั้น ก็ล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้นที่พระองค์ท่านทรงทำมากมายทำเพื่อนปวงชนชาวไทยตลอดจนถึงทุกวันนี้